Bonjour Amsterdam (4) หนังสือเดินทาง

ถ้าจะไปเที่ยวเองแบบไม่ง้อทัวร์ การเตรียมข้อมูลคือหัวใจสำคัญที่จะทำให้เราเที่ยวได้รอดตลอดทริป
เข้าใจว่าบางคนขี้เกียจเตรียมข้อมูลเที่ยวนี่ละ ก็เลยนิยมไปเที่ยวกับทัวร์มากกว่า
แต่ถ้าชอบความแตกต่าง ชอบวางแผนเที่ยวเอง...
ก็ต้องอ่าน อ่าน อ่าน อ่าน
จะได้ รู้ รู้ รู้ รู้
แล้วเอามาร่างภาพสเกตช์สำหรับการเที่ยวของเราเอง





1- ยุโรปของเพลงดาบฯ ใครที่ชอบชอบแวนโกะห์ โมเนต์ อ่านเล่มนี้น่าจะเพลิน เพราะเขาไปเที่ยวเมืองที่แวนโก๊ะห์เคยไปอยู่ แล้วก็ไปเยี่ยมบ้านโมเนต์ที่ Giverny แถมมีเกร็ดชีวิตของทั้งสองศิลปินมาเล่าให้อ่านอย่างเพลิดเพลิน

2- France's Diary เพิ่งรู้ว่ามีพิพิธภัณฑ์ชื่อ Marmotan Monet ก็จากเล่มนี้

3- PARIS je t'aime เล่มนี้น่าจะทำให้ออกเสียงชื่อสถานที่ต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงชาวปารีเซียงสุดละ อ่านเล่มนี้แล้วอยากไปร้านหนังสือกับร้านขายสีริมแม่น้ำแซน แล้วก็เพิ่งรู้ว่าในปารีสมีมัสยิด ที่น่าไปนั่งดื่มชาด้วย 

4- My little paris เล่มนี้อ่านไม่ออกเพราะเขียนเป็นภาษาเกาหลี แต่เอามาเปิดดูรูปเพราะอยากรู้ว่าคนเกาหลีไปเที่ยวที่ไหนบ้าง (เล่มนี้แถมแผนที่พกพาที่น่ารักมากมาด้วย...เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเห็นในไกด์บุ๊กของไทย)

5- Paris GUGGIG Guide เล่มนี้ให้ความรู้ว่ารถไฟใต้ดินเมืองปารีสประตูไม่ได้เปิดเองนะ แต่เราต้องเปิดเอง (หา!) แล้วก็ยังทำให้เราอยากเจอม้าหมุนในปารีสด้วย

6- ปารีส เล่มนี้รายละเอียดเยอะมาก (เหมาะสำหรับคนชอบเดินซอกแซก) ยกให้เป็นเล่มที่ครอบคลุมที่สุด อ่านเล่มเดียวได้ตั้งแต่เรื่องประวัติศาสตร์ ยันวิธีการจัดกระเป๋า!!!

7- สมุดบันทึก+มินิโปสการ์ด ไม่มีข้อมูลอะไร แต่การดูรูปเยอะ ๆ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการเที่ยวได้ แล้วก็ทำให้รู้ว่าควรถ่ายรูปมุมไหนสวย (จะได้ก๊อป เอ๊ย! เอาไว้เป็น reference)




8- LIPS ฉบับ ART DE VIVRE เจาะลึกเรื่องพิพิธภัณฑ์ในปารีส

9- a day ฉบับ PARIS เขาบอกว่าที่ปารีสมีสะพานที่คู่รักไปคล้องกุญแจด้วย (เกาหลีมาก ๆ)


นอกจากหนังสือแล้ว ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ทั้งเว็บไซต์ ทั้งBlog ทั้ง Board ก็ไม่ควรพลาด 

- นักเดินทางในเว็บ TripAdvisor ทำให้รู้ว่า ที่ฝรั่งเศสมีตั๋วรถไฟแบบ open ticket ที่ไม่ต้องระบุวัน-เวลา ใช้ขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ด้วย

- ชาวพันทิปทำให้รู้ว่า สถานีรถไฟใต้ดินของปารีสไม่ค่อยมีบันไดเลื่อน และยังแนะนำได้ด้วยว่าเขตไหนน่าพัก เขตไหนน่ากลัว

สำหรับปารีส แค่อ่านข้อมูลก็ต้องใช้หลายเดือนแล้ว เพราะแรก ๆ จะงงมากว่าอะไรคืออะไร แต่พอเริ่มคุ้นกับชื่อของสถานที่ต่าง ๆ มันจะเริ่มเห็นภาพชัดขึ้น
ด้วยความที่มันมีเยอะมาก อ่านไปจนถึงวันเดินทาง (จนกลับมาละ) ก็ยังไม่หมดเลย

ข้อควรระวังก็คือ อย่าไปยึดติดข้อมูลที่ได้จากการอ่าน เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อย่างค่าตั๋วรถไฟใต้ดินที่เปลี่ยนบ่อยจนสงสัยว่าพี่ขึ้นราคากันทุกปีเลยหรือเปล่าเนี่ย หรืออย่างตั๋วเข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในไกด์บุ๊กบอกว่ามีแบบครึ่งราคา สำหรับรอบหลังหกโมงเย็นวันพุธ แต่ตอนนี้ก็ไม่มีแล้วเหมือนกัน

เดี๋ยวนะ ว่าจะไป 2 ประเทศแล้วข้อมูลของอัมสเตอร์ดัมอยู่ไหน? 

Comments

>>Popular this week!