รักแห่งสยาม กับความลับที่ไม่ควรเปิดเผย
*พยายามเขียนให้ไม่โป๊ (ไม่เปิดเผยเรื่อง) มากแล้ว แต่ก็ยังเปิดเผยบางส่วนของหนังอยู่ดี...
อีกเหตุผลที่ทำให้หนังเรื่องนี้น่าสนใจก็เพราะเพลงประกอบหนังที่ชื่อเพลงกันและกัน เพลงนี้เท่ห์ดี เนื้อเพลงเหมือนเอาคำมาเรียง ๆ กัน ฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง แต่มีประโยคคม ๆ เสียบอยู่ในทุกท่อน ถ้าตั้งใจฟังดี ๆ จะรู้สึกว่ามีนัยที่ใครบางคนสื่อถึงใครบางคนอยู่ในเนื้อเพลงด้วย ซึ่งน่าเสียดายที่ดันไปรู้นัยที่ว่านี้ก่อนจะได้ดูหนัง...ความรู้สึกของตอนที่ฟังเพลงนี้มันพลิกไปเลย หลังจากที่เข้าใจความหมายของ ‘เธอ’ กับ ‘ฉัน’ ในเพลง...แต่ก็ยังชอบอยู่นะ (ยิ่งดูหนังแล้วยิ่งชอบทุกเวอร์ชั่นเลย ....เวอร์ชั่นที่เป็น ending theme ก็เพราะไปอีกแบบ...เพราะแบบมีวุฒิภาวะ)
หนังบางเรื่องจะมีฉากพิเศษที่ไม่ควรรู้ล่วงหน้า (และคนที่ดูก่อนไม่ควรจะเปิดเผยให้คนอื่นรู้ด้วย ซึ่งสมัยก่อนเค้ามักจะยกตัวอย่างฉากเด็ดในหนังเรื่อง The Crying Game กัน) ก็คิดว่ารักแห่งสยามอยู่ในข่ายนั้นด้วยนะ มันมีฉากสำคัญที่เหมือนเป็นหมัดน็อคคนดูอยู่หนึ่งฉาก ซึ่งวิธีการโปรโมตหนังก็พยายามจะไม่ทำให้คนคิดไปถึงฉากนั้นได้อยู่แล้ว แต่มันอาจทำให้บางคนเข้าใจว่าถูกหลอกและผิดหวังที่หนังไม่เป็นอย่างที่คิด หรือจะมองอีกแง่ก็ดีแล้วที่เค้าทำแบบนี้ คนดูจะได้ไม่มีอคติกับหนังไปซะก่อนที่จะได้ดู แถมกลายเป็นกระแสที่บอกกันปากต่อปากด้วย
= = = = = = = = = = =
ก่อนหน้าที่ รักแห่งสยาม (ชื่อยังกะหนังไทยพีเรียด) หรือ The Love of Siam จะออกฉาย เคยมีเพื่อนคนนึงตั้งคำถามว่า ทำไมชาวบ้านเค้าถึงตื่นเต้นกับหนังเรื่องนี้กันจัง ตอนนั้นบอกเพื่อนว่า คงเพราะนี่คือหนังเรื่องถัดมาของผู้กำกับเรื่อง 13 มั้ง ...ตัวเองยังอยากรู้เลยหนังที่คั่นระหว่าง 13 กับ 14 (ซึ่งเป็นภาคต่อ) จะออกมาเป็นยังไงอีกเหตุผลที่ทำให้หนังเรื่องนี้น่าสนใจก็เพราะเพลงประกอบหนังที่ชื่อเพลงกันและกัน เพลงนี้เท่ห์ดี เนื้อเพลงเหมือนเอาคำมาเรียง ๆ กัน ฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง แต่มีประโยคคม ๆ เสียบอยู่ในทุกท่อน ถ้าตั้งใจฟังดี ๆ จะรู้สึกว่ามีนัยที่ใครบางคนสื่อถึงใครบางคนอยู่ในเนื้อเพลงด้วย ซึ่งน่าเสียดายที่ดันไปรู้นัยที่ว่านี้ก่อนจะได้ดูหนัง...ความรู้สึกของตอนที่ฟังเพลงนี้มันพลิกไปเลย หลังจากที่เข้าใจความหมายของ ‘เธอ’ กับ ‘ฉัน’ ในเพลง...แต่ก็ยังชอบอยู่นะ (ยิ่งดูหนังแล้วยิ่งชอบทุกเวอร์ชั่นเลย ....เวอร์ชั่นที่เป็น ending theme ก็เพราะไปอีกแบบ...เพราะแบบมีวุฒิภาวะ)
หนังบางเรื่องจะมีฉากพิเศษที่ไม่ควรรู้ล่วงหน้า (และคนที่ดูก่อนไม่ควรจะเปิดเผยให้คนอื่นรู้ด้วย ซึ่งสมัยก่อนเค้ามักจะยกตัวอย่างฉากเด็ดในหนังเรื่อง The Crying Game กัน) ก็คิดว่ารักแห่งสยามอยู่ในข่ายนั้นด้วยนะ มันมีฉากสำคัญที่เหมือนเป็นหมัดน็อคคนดูอยู่หนึ่งฉาก ซึ่งวิธีการโปรโมตหนังก็พยายามจะไม่ทำให้คนคิดไปถึงฉากนั้นได้อยู่แล้ว แต่มันอาจทำให้บางคนเข้าใจว่าถูกหลอกและผิดหวังที่หนังไม่เป็นอย่างที่คิด หรือจะมองอีกแง่ก็ดีแล้วที่เค้าทำแบบนี้ คนดูจะได้ไม่มีอคติกับหนังไปซะก่อนที่จะได้ดู แถมกลายเป็นกระแสที่บอกกันปากต่อปากด้วย
ปัญหามันอยู่ที่การบอกต่อ ๆ กันมานี่แหละ ก็ฉากที่ว่านี่มันแรงจนใคร ๆ
ต่างพูดถึง แถมมีการสรุปให้เสร็จสรรพด้วยว่าหนังเรื่องนี้เป็น...หนัง Y...
ระบบการสื่อสารสมัยนี้มันคงดีเกินไปมั้ง...ไม่อยากรู้ ไม่อยากเห็น
ไม่ได้ตั้งใจ แต่ข่าวสารมันก็มาถึงเราอยู่ดี
แต่ถึงจะรู้ฉากสำคัญไปก่อนหน้า และแอบรู้ทางของเรื่องไปบ้าง พอไปดูเข้าจริง ๆ ฉากที่ว่านั่นก็ยังเวิร์กอยู่นะ (ดูแล้วก็ยังรู้สึกตกใจ-ถูกน็อคด้วยฉากนี้อยู่ดี นี่ถ้ายังไม่รู้มาก่อน คงจะได้ฟีลกว่านี้มาก) ถ้าใครดูแล้วก็อย่าเอ็ดไปล่ะ อะไรนะ...เค้ารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้วเหรอ ต่างพูดถึง แถมมีการสรุปให้เสร็จสรรพด้วยว่าหนังเรื่องนี้เป็น...หนัง Y...
ระบบการสื่อสารสมัยนี้มันคงดีเกินไปมั้ง...ไม่อยากรู้ ไม่อยากเห็น
ไม่ได้ตั้งใจ แต่ข่าวสารมันก็มาถึงเราอยู่ดี
...ดูหนังจบแล้วไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นหนังว้ายวายอย่างที่เค้าว่ากัน แล้วก็ไม่ใช่หนังวัยรุ่น หนังครอบครัวเชย ๆ อย่างที่แอบคิดไปล่วงหน้าด้วย รู้สึกเหมือนกับที่หลาย ๆ คนบอกตรงกันว่า หนังเรื่องนี้มันพูดถึงความรักหลาย ๆ แบบ เหมือนที่เพลงกันและกันเขียนไว้ว่า “มีความจริงอยู่ในความรักตั้งมากมาย” นั่นแหละ แต่ความรักและความจริงในหนังมันก็เศร้ามากมาย จนเหมือนข้างใน (ใจ) ยังร้องไห้ไม่ยอมหยุด แม้จะดูหนังจบไปเป็นชั่วโมง ๆแล้ว T_T
นี่เป็นหนังอีกเรื่องที่จะทำให้นึกถึงวันคริสต์มาส (ทำไมไม่ฉายให้ตรงกับเทศกาลไปเลยนะ? สงสัย ๆ)ดู The Love of Siam แล้ว ชวนให้นึกถึงหนัง coming of age จากไต้หวันเรื่อง Blue Gate Crossing ที่เล่าเรื่องของเด็กสาวผู้สับสนจนต้องพยายามทดลองอะไรบ้าบิ่นหลาย ๆ อย่างเพื่อหาคำตอบให้ตัวเอง (ในขณะที่ตัวละครที่สับสนใน The Love of Siam คือเด็กหนุ่ม) หนังสร้างตั้งแต่ปี 2002…นานจนแทบจะลืมไปแล้วว่า Guey Lun-Mei นางเอกหนังเรื่อง Secret ที่เพิ่งเข้าโรงฉายในบ้านเรา เคยเล่นเป็นเด็กสาวคนนั้นมาก่อน |
หนัง Y คืออะไร?
คำว่า Y มาจากคำภาษาญี่ปุ่นว่า Yaoi ซึ่งเป็นประเภท (genre) หนึ่งของการ์ตูนญี่ปุ่น ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายที่รักผู้ชาย ว่ากันว่าการนำคำว่า Yaoi มาเรียกหนังหรือสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาแบบชายxชาย อย่างหนังวาย หรือฟิกวาย (fiction) มักจะไม่ค่อยตรงตามความหมายดั้งเดิมที่เท่าไหร่นัก (ก็เพราะ Yaoi เป็นเพียง 1 ในอีกหลายประเภทของการ์ตูนแนว ๆ นี้ซึ่งยังมีชื่อเรียกเฉพาะอีกหลายชื่อ!!!) ...ส่วนการเรียกสั้น ๆ ว่า Y นั้น สงสัยว่าน่าจะมีใช้เป็นศัพท์เฉพาะในบ้านเราเท่านั้นหรือเปล่า...ใครรู้ช่วยบอกที???
|
Comments